คำถามที่พบบ่อย
Made in Thailand คืออะไรและทำไมต้องขอการรับรอง
A: การรับรองสินค้าMade
in Thailand หรืออักษรย่อ MiTคือ
เอกสารรับรองหรือเครื่องหมายที่ส.อ.ท.
ออกให้แก่ผู้ประกอบการมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด
โดยใช้แนวทางการคำนวณมูลค่าตามหลักการ ASEANContent โดยปรับให้ตรงวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนสินค้าผลิตในประเทศซึ่งต้องมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบผลิตในประเทศอย่างน้อย 40%
จากการผลักดันของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อจุดประกายให้เกิดการสร้างความภาคภูมิใจ
ความเชื่อมั่นในสินค้าไทยและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และประชาชนในประเทศหันมาให้การสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าในต่างประเทศนำไปสู่
มติ ครม.เห็นชอบให้แก้ไข
ประกาศกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีกำรจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 ธันวาคม2563 (ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา22 ธันวาคม 2563)
ดังนั้นสินค้าที่ภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างในหมวด 7/1 จะต้องได้รับการรับรองMiT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Q: กรณีไม่ได้ขายสินค้าให้ภาครัฐจำเป็นต้องยื่นขอรับรองสินค้า Made
in Thailand หรือไม่
A: กรณี 1 หากบริษัทท่านเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบเพื่อจำหน่ายให้บริษัทอื่นๆ
นำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปควรจะยื่นขอรับรองวัตถุดิบนั้นเพื่อให้ผู้ซื้อวัตถุดิบจากท่านสามารถอ้างอิงได้ว่าสินค้าสำเร็จรูปดังกล่าวใช้วัตถุดิบที่เป็นMiT ซึ่งจะทำให้สินค้าสำเร็จรูปนั้นได้รับการรับรองสินค้าMiT ง่ายยิ่งขึ้น
กรณี 2 หากท่านเป็นผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปและไม่ได้ขายสินค้าให้ภาครัฐเอง
แต่มีผู้ซื้อสินค้าจากท่านไปขายต่อให้ภาครัฐท่านจำเป็นต้องยื่นขอรับรอง MiT เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าจากท่านมีใบรับรองMiT เสนอต่อภาครัฐ
ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนในสินค้าไทย
ขั้นตอนการหา เลขพิกัด ฯ ศุลกากร เบื้องต้น ทำได้ดังนี้
1. ต้องทราบก่อนว่าเราต้องการค้นหาอะไร
2. นำชื่อสิ่งที่เราต้องการหา (ภาษาอังกฤษ) ตามด้วย HS Code ไปค้นหาที่ google
3. นำเลขที่ได้ ไปตรวจสอบกับ พิกัดจากกรมศุลกากร<<คลิ๊ก
4. นำเลข 6 หลักแรกมาใส่
ตัวอย่างเช่น
ต้องการหาพิกัด แอลกอฮอล์ 75%
ให้พิมพ์ alcohol 75% hs code ค้นหาด้วย google
ตรวจสอบเลขกับพิกัดกับกรมศุลกากร ตามลิงค์ที่แนบไว้
เพราะฉะนั้น เลขที่ตรงคือ 220720
นำเลข 6 หลักแรกไปใช้งาน
หรือสอบถามที่ศูนย์บริการศุลกากร Hot line : 1164 หรือ 02-667-6000 หรือ 02-667-7000
Q : ทำไมถึงอัพโหลดไฟล์ ไม่ได้
A : เนื่องจากขนาดไฟล์ที่กำหนดให้อัพโหลดได้ ต้องมีขนาดไม่เกิน 2 MB โปรดตรวจสอบขนาดไฟล์ของท่านอีกครั้ง
Q : จะสามารถลดขนาดไฟล์ได้อย่างไร
A : เบื้องต้นสามารถสแกนไฟล์ใหม่โดยเลือกสแกนเป็นไฟล์ขาวดำ หรือ สามารถเข้าไปบีบอัดไฟล์ได้จากลิงค์นี้ คลิ๊ก
Q: ทำไมต้องใส่ วัตถุดิบที่เป็นโลหะ หรือ ทำด้วยโลหะ ในวัตถุดิบนำเข้า
A: เนื่องจากโลหะทุกชนิดยกเว้นดีบุกไม่ใช่วัตถุดิบไทยแท้ เพราะประเทศไทยไม่มีเหมือง
Q: ถ้าทางบริษัท ซื้อของที่ผลิตในไทยจากบริษัทในไทย
A: ต่อให้ซื้อกันเองภายในประเทศ ก็ถือว่าเป็นการนำเข้าทางอ้อมเช่นกัน (ถ้าซื้อกันเองภายในประเทศ ช่องประเทศแหล่งกำเนิดให้ใส่ TH จะบอกว่าเป็นการนำเข้าทางอ้อม) และทางMiTไม่ได้ไปตรวจโรงงานจึงไม่ทราบว่าทางโรงงานนั้นผลิตจริงหรือไม่ หรือแค่นำเข้ามาและแพคขาย เนื่องจากในปัจจุบันมีการแอบอ้างการเป็นผู้ผลิตค่อนข้างมาก เพื่อลดข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โปรดทำตามคำแนะนำของทีมงานMiT
Q: กรณีใดบ้าง ที่จะใส่ฝั่งวัตถุดิบในประเทศได้
A: กรณีที่ได้รับการรับรองจาก MiT แล้ว ให้ใส่เลขMiT พร้อมแนบใบรับรอง MiT มาในช่อง หลักฐานการซื้อขายวัตถุดิบ
ในกรณีที่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ที่ไม่เข้าข่ายที่จะต้องขอใบอนุญาติประกิบกิจการโรงงาน รง.4 (แรงม้ารวมไม่เกิน 50 แรงม้า)
สามารถไปขอหนังสือ ที่ระบุว่า มีสถานที่ในประเทศไทยจริง และ มีเครื่องจักร คนงาน ที่แรงม้ารวมไม่ถึง 50 แรงม้า จึงไม่เข้าข่ายโรงงาน
โดย กทม. สามารถไปขอได้ที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สำนักงานเขต
ต่างจังหวัด สามารถไปขอได้ที่ อุตสาหกรรมจังหวัด อบต. อบจ.
ตัวอย่าง ใบอนุญาตอื่นๆ ที่สามรถใช้แทนได้
- สิทธิประโยชน์จากการให้แต้มต่อ 5% สำหรับผู้ที่นำสินค้า MiT ไปเสนอราคาภาครัฐ
- สิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ผลิตในประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของพัสดุที่จะใช้ในงานจ้าง
- สินค้าได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นจากคู่ค้า / ผู้บริโภค
- สร้างโอกาสในการขยายการค้าไปยังต่างประเทศที่นิยมสินค้าไทยได้มากขึ้น
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้า เนื่องจากได้ผ่านการรับรองจากองค์กรที่ได้รบความน่าเชื่อถือ
- ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มีนโยบายให้ใบรับรอง MiT สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบในการส่งออกในอนาคตได้
ยังไม่สามารถใช้ได้
A: กรณีการจัดซื้อ ให้แนบเอกสารเมื่อยื่น Proposal เสนอราคา กรณีจัดจ้าง ให้แนบเอกสาร เมื่อประมูลโครงการชนะแล้ว และต้องยื่นรายละเอียดของการบริการว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง
A: การยื่นขอการรับรอง Made in Thailand ใช้สำเนาเอกสารหลักฐาน โดยให้ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตราบริษัท
A: ใบรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย Made in Thailand มีอายุ 1 ปี สามารถใช้ได้จนกว่าจะหมดอายุ แล้วจึงทำการยื่นขอเอกสารกับสภาอุตสาหกรรมฯ โดยยื่นเอกสารใหม่ทั้งหมด หากวัตถุดิบที่ใช้ยังเหมือนเดิม จะยังคงได้เลขที่ใบรับรองเลขที่เดิม
A : เอกสารและหลักฐานที่เป็นข้อมูลเมื่อกรอกลงในแบบขอตรวจคุณสมบัติสินค้า Made in Thailand แล้ว การส่งข้อมูลใช้วิธิดาวน์โหลดข้อมูลและยื่นส่งในระบบ ไม่ต้องส่งเอกสารและหลักฐานไปที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แต่ต้องรับรองว่าข้อมูลที่กรอกไว้ถูกต้องและเป็นความจริงทุกประการ
หมายเหตุ หากพนักงานตรวจคุณสมบัติ หรือคณะกรรมการสินค้า Made in Thailand มีข้อสงสัย อาจขอให้แสดงเอกสารหลักฐานตัวจริง หรือเพิ่มเติมในแต่ละกรณี
A : การคำนวณมูลค่าสินค้า Made in Thailand ทุกแบบมูลค่ารวมของวัตถุดิบ วัสดุ หรือชิ้นส่วนที่ผลิตจากโรงงานในประเทศไทย ต้องมีผลลัพธ์เท่ากับหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
การคำนวณมูลค่าสินค้า Made in Thailand โดยวิธีอิเล็คโทรนิกส์ เป็นระบบบังคับที่จะต้องดำเนินการตามลำดับ โดยต้องคำนวณมูลค่าสินค้าตามแบบที่ 1 ก่อน ซึ่งถ้าผลลัพธ์ที่ได้ไม่เท่ากับหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 จึงจะต้องไปใช้วิธีการคำนวณแบบที่ 2 และถ้าผลลัพท์ที่ได้ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ จึงจะต้องปรับไปใช้วิธีที่ 3 และวิธีที่ 4 ตามลำดับ
A : การเปลี่ยนเลขพิกัดศุลกากรระหว่างสินค้ากับวัตถุดิบเกิดจากขั้นตอนการผลิตสินค้า เป็นหลักการที่ใช้บรรยายถึงขั้นตอนการผลิตในประเทศไทยที่ส่งผลให้วัตถุดิบถูกแปรสภาพเป็นสินค้าในท้องตลาด แสดงออกได้เป็น 3 รหัส คือ (1) CC (2) CTH และ (3) CTSH ดังนั้น เลขพิกัดศุลกากรของวัตถุดิบกับสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเอามาเทียบกัน รหัสเหล่านี้จะใช้เป็นตัวแทนที่แสดงขั้นตอนการผลิตสินค้า (เมื่อใช้รหัส ก็ไม่ต้องบรรยายวิธีการและขั้นตอนการผลิตสินค้าซ้ำอีก)
สำหรับการเทียบเลขพิกัดศุลกากรระหว่างวัตถุดิบกับสินค้า ที่ได้เป็นรหัส มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
1) CC = Change of Chapter หมายถึง รหัสที่ได้จากการเทียบเลขพิกัดศุลกากร 2 หลักแรกซึ่งเป็นเลขพิกัดระดับตอน (Chapter) ระหว่างวัตถุดิบกับตัวสินค้า เช่น การบีบสกัดผลสัปปะรด (เลขพิกัด HS code 0804.30) เพื่อทำเป็นน้ำผลไม้สัปปะรด (เลขพิกัด HS code 2009.41) เมื่อนำเลขพิกัดมาเทียบกันแล้ว พบว่า เลข 2 หลักแรกแตกต่างกัน จึงถือว่ามีการเปลี่ยนพิกัดในระดับตอน หรือ Chapter ในกรณีนี้ CC จะหมายถึง การบีบสกัดน้ำผลไม้
2) CTH = Change of Tariff Heading หมายถึง รหัสที่ได้จากการเทียบเลขพิกัดศุลกากร 4 หลักแรกซึ่งเป็นเลขพิกัดระดับประเภทพิกัด (Tariff Heading) ระหว่างวัตถุดิบกับตัวสินค้า เช่น การเอาท่อนไม้ที่ถากเปลือกออกแล้ว (เลขพิกัด HS code 4403.49) มาเลื่อยตัดแผ่นและแปรรูปเป็นแผ่นไม้พลายวู้ด (เลขพิกัด HS code 4412.99) เมื่อนำเลขพิกัดมาเทียบกันแล้ว พบว่า เลข 2 หลักแรกตรงกันแต่เลขหลักที่ 3 และ 4 แตกต่างกัน จึงถือว่ามีการเปลี่ยนพิกัดในระดับประเภทพิกัด หรือ Tariff Heading ในกรณีนี้ CTH จะหมายถึง การเลื่อยตัดแผ่นและอัดแปรรูปเป็นแผ่นไม้
3) CTSH = Change of Tariff Sub-Heading หมายถึง รหัสที่ได้จากการเทียบเลขพิกัดศุลกากรทั้งหมด 6 หลักแรกซึ่งเป็นเลขพิกัดระดับประเภทพิกัดย่อย (Tariff Sub-Heading) ระหว่างวัตถุดิบกับตัวสินค้า เช่น การประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรมแบบ Assembly line โดยนำเข้าหรือจัดหาชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ (เลขพิกัด HS code 8415.90) มาประกอบขึ้นเป็นเครื่องปรับอากาศพร้อมจำหน่าย (เลขพิกัด HS code 8415.10) เมื่อนำเลขพิกัดมาเทียบกันแล้ว พบว่า เลข 4 หลักแรกตรงกันแต่เลขหลักที่ 5 และ 6 แตกต่างกัน จึงถือว่ามีการเปลี่ยนพิกัดในระดับประเภทพิกัดย่อย หรือ Tariff Sub-Heading ในกรณีนี้ CTSH จะหมายถึง การประกอบชิ้นส่วนขึ้นมาจนได้เป็นเครื่องปรับอากาศพร้อมใช้งาน
- หากผู้ยื่นเสนอเป็น SME ก็พิจารณาให้แต้มต่อการเป็น SME แต่ SME รายนั้นก็ต้องได้รับการรับรองให้เป็นสินค้า MiT ก่อนตามระเบียบ
- หากผู้ยื่นเสนอเป็น SME ก็พิจารณาให้แต้มต่อการเป็น SME แต่ SME รายนั้นก็ต้องได้รับการรับรองให้เป็นสินค้า MiT ก่อนตามระเบียบ
- ส่วนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พิจารณาตามความต้องการจากหน่วยงานรัฐที่ร้องขอเป็นกรณีๆ
- โดยสิทธิ์ประโยชน์จะไม่ได้ซ้ำซ้อนเพิ่มขึ้น แต่จะพิจารณาให้สิทธิ์ตามหลักเกณฑ์เป็นลำดับไป
- ให้แต้มต่อกับผู้เสนอราคาที่ได้นำสินค้าที่ผ่านการรับรอง MiT จากสภาอุตสาหกรรมฯ เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละ 5 โดยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
- กรณีการใช้พิจารณาแบบราคารวมให้แต้มต่อ ไม่เกินร้อยละ 5 กับผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้เสนอสินค้าที่ผ่านการรับรอง MiT จากสภาอุตสาหกรรมฯ หลายรายการรวมกัน โดยมีสัดส่วนมูลค่าตั้งแต่ ร้อยละ 60 ขึ้นไป
A: - ถ้าเป็นผู้ผลิตที่ไม่ต้องจดทะเบียนโรงงาน แต่มีหลักฐานของทางราชการเกี่ยวกับสถานประกอบการผลิต เช่น หนังสือขอหารือของกรมโรงงานฯ ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ออกให้โดยสำนักงานเขตหรือกทม. หนังสือรับรองของเขตประกอบการอุตสาหกรรม หนังสือรับรองของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) หนังสือรับรองกลุ่มการผลิตสินค้าในท้องถิ่น จาก อบจ,/อบต. สำเนาคำขอการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ซึ่งต้องแนบพร้อมกับสำเนาการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเดือนล่าสุด ฯลฯ ให้ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต พร้อมแนบสำเนาหลักฐาน ดังกล่าว
- ถ้าเป็นผู้ผลิตรายย่อย ไม่มีหลักฐานของทางราชการเกี่ยวกับสถานประกอบการผลิตให้ระบุชื่อบุคคลที่เป็นผู้ผลิตสินค้าและสถานที่ทำการผลิตสินค้านั้น และให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ผลิตสินค้ามาด้วย พร้อมหนังสือรับรองจากผู้ผลิตว่าเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นจริง
A : ชื่อกิจการ (ภาษาไทย)ไม่ได้บังคับให้เลือก "สำนักงานใหญ่" เนื่องจากในระบบไม่ได้บังคับ (*) ให้กรอก ผู้ประกอบการสามารถข้ามหรือไม่เลือกก็ได้ แต่แนะนำให้ผู้ประกอบการระบุชื่อตามจริงของบริษัทของผู้ประกอบการหรืออ้างอิงตามหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล เพราะชื่อกิจการมีผลต่อใบรับรอง MiT และจะไปปรากฏที่ใบรับรอง MiT ด้วย แนะนำตอนผู้ประกอบการกรอกข้อมูลผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการสามารถกด Preview ดูตัวอย่างใบรับรองก่อนกด Submit ทุกครั้ง
A : วิธีการสร้างใบแจ้งการชําระเงิน
(BillPayment)
อัตราค่าบริการใบรับรอง MiT
อ้างอิง : MiT ขยายอายุใบรับรอง เป็น 2 ปี - Made in Thailand (fti.or.th)
ศึกษาขั้นตอนการชำระเงินเพิ่มเติม
คลิก : https://bit.ly/32wDCIQ (หน้า 23-27)
A : ผู้ประกอบการสามารถแจ้งเปลี่ยนอีเมลกับเจ้าหน้าที่โดยตรงโดยทักมาที่ไลน์แอด @mitofficial โดยแจ้งเลขที่หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แจ้งอีเมลเดิม และอีเมลใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงให้เจ้าหน้าที่ทราบทางไลน์ได้เลย
A : ผู้ประกอบการต้องดำเนินการอัพเดทหรือปรับปรุงข้อมูลคู่ค้ากับภาครัฐในระบบ e-GP ให้เป็นปัจจุบันให้เรียบร้อย
ตัวอย่าง https://www.youtube.com/watch?v=NZ9RwMS87LE (นาทีที่ 1:59:45)
A : ใบเสร็จรับเงิน MiT ทั้งรายการขอใหม่และต่ออายุ ราคารวม VAT เรียบร้อยแล้ว ดังตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่าง : ใบเสร็จรับเงิน MiT รายการขอใหม่ ฉบับ ละ 500 บาท
ตัวอย่าง : ใบเสร็จรับเงิน MiT รายการต่ออายุ ฉบับ ละ 200 บาท
อัตราค่าบริการใบรับรอง MiT
อ้างอิง : MiT ขยายอายุใบรับรอง เป็น 2 ปี - Made in Thailand (fti.or.th)
ศึกษาขั้นตอนการชำระเงินเพิ่มเติม คลิก : https://mit.fti.or.th/manual/9 (หน้า 23-27)